การเรียนการสอน
วิธีการ
1. วิชาพื้นฐานด้านเวชปฏิบัติเพื่อการเสริมสวย จำนวน 10 วิชา รวม 320 ชั่วโมง เรียนด้วยระบบการเรียนทางไกลผ่านห้องเรียนออนไลน์
2. หัตถการ
1) ภาคทฤษฎี ศึกษาเนื้อหาผ่านระบบการเรียนการสอนที่กำหนด
2) ภาคปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติในสถานพยาบาลด้านเวชปฏิบัติเพื่อการเสริมสวย ประกอบด้วย
(1) เรียนรู้และฝึกทักษะกับ Teaching Fellow หัตถการละ 5 – 60 ชั่วโมง
(2) เก็บประสบการณ์โดยเป็น Assistant ภายใต้การดูแลของ Teaching Fellow หัตถการละ 5 – 20 ราย
ระยะเวลา
เปิดรับสมัครผู้เรียนปีงบประมาณละ 2 ครั้ง
1. รับสมัครเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน เรียนระหว่าง เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม
2. รับสมัครเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม เรียนระหว่าง เดือนมกราคม - มิถุนายน
สื่อการเรียนการสอน / การเรียนรู้
1. ภาคทฤษฎี บทเรียนออนไลน์ สื่อแนะนำเพิ่มเติมอื่นๆ
2. ภาคปฏิบัติ สื่อบุคคลและสื่อจำลอง และการฝึกทักษะ ประสบการณ์ในสถานพยาบาลที่กำหนด
กระบวนการเรียนรู้
1. ภาคทฤษฎี
ขั้นตอนที่ 1 วางแผนการเรียนรู้สำหรับตนเอง โดยคำนึงถึงความสะดวก ความพร้อมของตนเอง เพื่อให้สามารถศึกษาเนื้อหาสาระ ทำกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมที่มอบหมาย ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด
ขั้นตอนที่ 2 เรียนรู้จากบทเรียนออนไลน์ ผ่านห้องเรียนออนไลน์
1) ห้องเรียนเพื่อสร้างความเข้าใจก่อนเรียน เกี่ยวกับหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การวัดประเมินผล และการจบหลักสูตร
2) ห้องเรียนวิชาพื้นฐาน จำนวน 10 ห้องเรียน
โดยในแต่ละห้องเรียนวิชาพื้นฐานให้ผู้เรียนศึกษาบทเรียนในวิชานั้น และทำกิจกรรมการเรียนรู้และ/หรือกิจกรรมที่มอบหมาย (ถ้ามี) จนครบทุกบทเรียน จากนั้นให้แบบทดสอบหลังเรียน เพื่อประเมินการบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ กรณีที่ผู้เรียนไม่พอใจผลการประเมินหลังเรียน สามารถกลับไปเรียนรู้ ทบทวน และทำแบบทดสอบหลังเรียนได้อีกครั้ง
2. การฝึกประสบการณ์เวชปฏิบัติในสถานพยาบาล
ผู้เรียนที่ผ่านการวัดและประเมินผลในภาคทฤษฎีวิชาพื้นฐาน และลงทะเบียนเรียนหัตถการแล้วให้เรียนรู้เนื้อหาทฤษฎีควบคู่ไปกับการฝึกประสบการณ์เวชปฏิบัติ เพื่อเสริมทักษะประสบการณ์ในหัตถการที่ลงทะเบียน กับสถานพยาบาลที่สมาคมศัลยกรรมและเวชศาสตร์เพื่อการเสริมสวยประเทศไทย ขึ้นทะเบียนไว้ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ผู้เรียนรับหนังสือส่งตัวและสมุดบันทึกการฝึกหัตถการ (Log book) จากสมาคมศัลยกรรมและเวชศาสตร์เพื่อการเสริมสวยประเทศไทย เพื่อนำไปแสดงกับสถานพยาบาล
ขั้นตอนที 2 ผู้เรียนร่วมกับอาจารย์ผู้สอนทำแผนการฝึกทักษะประสบการณ์กับสถานพยาบาล
ขั้นตอนที่ 3 ผู้เรียนฝึกทักษะประสบการณ์ตามจำนวน Case และชั่วโมงที่กำหนด
ขั้นตอนที่ 4 ผู้เรียนจัดทำรายงานการฝึกทักษะและประสบการณ์ในสมุดบันทึกการฝึกหัตถการ(Log book)
ขั้นตอนที่ 5 อาจารย์ผู้สอนในสถานพยาบาลที่ฝึกทักษะประสบการณ์ลงชื่อรับรองในสมุดบันทึกการฝึกหัตถการ (Log book)
ขั้นตอนที่ 6 ผู้เรียนจัดส่งสมุดบันทึกการฝึกหัตถการ (Log book) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ให้สมาคมศัลยกรรมและเวชศาสตร์เพื่อการเสริมสวยประเทศไทย